บ้านเมาะหลวง : บ้านเมาะหลวงเจริญ หลายๆคนอาจจะได้ทราบข่าวแล้วบ้าง สำหรับการแยกหมู่บ้านเมาะหลวงนั้น มีหลายเหตุผลปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมีประชากร หลังคาเรือนและพื้นที่ทั้งในส่วนของงบประมานที่ได้รับการจัดสรรลงมาไม่ทั่วถึงแก่การพัฒนา
.

มาตรา 8 บ้าน หลายบ้านอยู่ในท้องที่อันหนึ่ง ซึ่งควรอยู่ในความปกครองเดียวกันได้ ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ลักษณะที่กำหนดหมู่บ้านตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือความสะดวกแก่การปกครองเป็นประมาณ คือ
ข้อ 1 ถ้าเป็นที่มีคนอยู่รวมกันมาก ถึงจำนวนบ้านน้อย ให้ถือเอาจำนวนคนเป็นสำคัญประมาณราว 200 คนเป็นหมู่บ้านหนึ่ง
ข้อ 2 ถ้าเป็นที่ผู้คนตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลกัน ถึงจำนวนคนน้อยถ้าและจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้านแล้ว จะจัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งก็ได้
ทั้งนี้ที่ว่ามาแล้วก็ต้องผ่านการประชาคม ผ่าน อปท. อำเภอ แล้วก็จังหวัด ถ้าผ่านอะไรต่างๆแล้ว จังหวัดก็จะส่งเรื่องถึงกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย ก็จะส่งเรื่องไปที่สำนักงบประมาณอีกขั้นตอน ถ้าหากสำนักงบประมาณผ่านก็ได้ตั้งแล้ว
.

1. การสำรวจและรวบรวมข้อมูล
2. การยื่นคำร้อง
3. การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. การอนุมัติ
– การเสนอเรื่องต่อหน่วยงานที่สูงกว่า: หากหน่วยงานท้องถิ่นเห็นชอบ ก็จะส่งเรื่องไปยังจังหวัดเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
– การพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัด: ผู้ว่าราชการจังหวัดจะตรวจสอบรายละเอียดและตัดสินใจว่าจะอนุมัติการแยกหมู่บ้านหรือไม่
5. การประกาศแยกหมู่บ้าน
6. การจัดการด้านการบริหารและงบประมาณ
การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร: หมู่บ้านใหม่จะได้รับงบประมาณและทรัพยากรจากหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชน
การวางแผนพัฒนา: หมู่บ้านใหม่จะต้องจัดทำแผนพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาของชุมชน
