ข้อมูลสภาพทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาล

ข้อมูลทั่วไป

  • ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลแม่เมาะ
    เทศบาลตำบลแม่เมาะ   ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลตั้งแต่วันที่  24  สิงหาคม พ.ศ.2550 ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย  เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล  ลงวันที่ 24  สิงหาคม  2550 ตั้งอยู่หมู่ที่  11  บ้านนาแขมพัฒนา  ถนนสายลำปาง – แม่เมาะ   ตำบลแม่เมาะ  อำเภอแม่เมาะ  จังหวัดลำปาง
  • อาณาเขต
    เทศบาลตำบลแม่เมาะ   มีอาณาเขตการปกครองติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ดังนี้
    อาณาเขตทางทิศเหนือ           ติดต่อกับ   ตำบลบ้านดง     อำเภอแม่เมาะ   จังหวัดลำปาง
    อาณาเขตทางทิศใต้               ติดต่อกับ   ตำบลสบป้าด    อำเภอแม่เมาะ   จังหวัดลำปาง
    อาณาเขตทางทิศตะวันออก      ติดต่อกับ   ตำบลนาสัก      อำเภอแม่เมาะ   จังหวัดลำปาง
    อาณาเขตทางทิศตะวันตก        ติดต่อกับ   ตำบลพระบาท   อำเภอเมือง      จังหวัดลำปาง

  • ประชากร (ข้อมูล  ณ เดือนเมษายน  2556)ปี พ.ศ. 2554 (พฤษภาคม 2554)
    ชาย  จำนวน 7,944 คน
    หญิง  จำนวน 8,081 คน
    จำนวนครัวเรือน  5,361 ครัวเรือนปี พ.ศ. 2555 (พฤษภาคม 2555)
    ชาย  จำนวน 7,897 คน
    หญิง  จำนวน 8,034 คน
    จำนวนครัวเรือน  7,669 ครัวเรือนปี พ.ศ. 2556 (เมษายน 2556)
    ชาย  จำนวน 7,877 คน
    หญิง  จำนวน 8,039 คน
    จำนวนครัวเรือน  7,779 ครัวเรือน
  • สภาพภูมิอากาศตำบลแม่เมาะมีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างอบอ้าวและหนาวจัดในฤดูหนาว  มีฝนตกเนื่องจากพื้นที่จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม  3 ฤดูฤดูร้อน   อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม  ในช่วงกลางวันจะมีอากาศร้อนอบอ้าว  แดดจัด  และอากาศจะเย็นลงเล็กน้อยในช่วงเวลากลางคืน  อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 35 – 43 องศาเซลเซียสฤดูฝน   อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม  ฝนตกต้องตามฤดูกาล แต่ในบางปีจะมีฝนแล้งฤดูหนาว  อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์  ในช่วงเช้าอากาศหนาวเย็น มีเมฆหมอกปกคลุม  ช่วงกลางวันอากาศเย็นสบาย ส่วนตอนกลางคืนอากาศจะหนาวเย็นมาก  อุณหภูมิอยู่ในช่วง 8 – 22 องศาเซลเซียล

    อุณหภูมิ

    สภาพพื้นที่ที่อยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา  และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา  อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 26.3 องศาเซลเซียล  อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 29.9 องศาเซลเซียล ในเดือนเมษายน  และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 21.6 องศาเซลเซียล ในเดือนธันวาคม

    ความเร็วลม

    ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 0.8 นอต  โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยต่ำสุดพบในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม เท่ากับ 0.4 นอต ส่วนความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดพบในเดือนมิถุนายน เท่ากับ 1.3 นอต

    ปริมาณน้ำฝน

    ปริมาณน้ำฝนที่ตกในเขตพื้นที่อำเภอแม่เมาะ  ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศแบบร้อนชื้นและมีพื้นที่เป็นป่าไม้  โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกลงวัดได้จากพื้นที่โล่งและเป็นพื้นที่ราบที่อยู่อาศัย  โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 87 มิลลิเมตร  โดยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำสุดพบในเดือนมกราคม เท่ากับ 2.3 มิลลิเมตร  และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุดพบในเดือนกันยายน เท่ากับ 212.5 มิลลิเมตร  นอกจากนี้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อวัน ทั้งปี เท่ากับ 9 มิลลิเมตร

  • เนื้อที่และลักษณะภูมิประเทศพื้นที่เขตตำบลแม่เมาะ  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา  ลักษณะภูมิประเทศตอนกลางของแอ่งแม่เมาะ  โดยแบ่งตามธรณีสัณฐานได้เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำปัจจุบัน  ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งน้ำ  เช่น น้ำแม่เมาะ  น้ำแม่ขาม  และห้วยต่างๆ  เช่น ห้วยหลวง ห้วยทราย ห้วยคิง และห้วยเป็ด  มีระดับความสูงประมาณ +300 ถึง + 320 เมตร  พื้นที่เป็นแนวแคบๆ ขนาดกับลำน้ำและเอียงเทเหาลำน้ำ  ปัจจุบันพื้นที่ราบลุ่มนี้ยังคงสภาพเดิมเฉพาะบริเวณนอกเขตการใช้ประโยชน์ของ กฟผ.แม่เมาะ  ได้แก่ สองฝั่งน้ำแม่เมาะด้านเหนือบริเวณบ้านดง  บ้านหัวฝาย  และด้านใต้บริเวณบ้างหางฮุงจนจรดอ่างเก็บน้ำแม่เมาะ  บางส่วนของห้วยหลวงและห้วยคิงพื้นที่ราบเชิงเขา  ได้แก่ พื้นที่ลาดด้านตะวันตกของแอ่งแม่เมาะ  มีความสูงของพื้นที่ตั้งแต่ระดับ +340 ถึง + 380 เมตร  ความลาดเอียงอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ- ตะวันออกเฉียงใต้ตามทิศทางการไหลของห้วยหลวง  ห้วยกาว และห้วยนาปม   ลักษณะพื้นที่เป็นแนวขนาดกับทิวเขาสูง มีความลาดเอียงสม่ำเสมอ  ประกอบด้วยเศษหินที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลวัตถุ และตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวของกรวด ทราย และดินเหนียว

    เขตภูเขาสูง  ได้แก่ พื้นที่ซึ่งอยู่สูงกว่า +400 เมตร  ขึ้นไป  ซึ่งเป็นภูเขาสูงด้านตะวันตกของแอ่งแม่เมาะ  วางตัวอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้  ประกอบด้วย หินเศษหินภูเขาไฟยุคเพอร์โมไทรแอลซิก  พื้นที่มีความสูงชันมาก  มียอกเขาระเกะระกะ ไม่ปรากฏเป็นสันเขาชัดเจน  ร่องน้ำเป็นรูปตัววีลึก  ผนังร่องน้ำชัน

    เทศบาลตำบลแม่เมาะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ มีลักษณะ เป็นชุมชน ชนบทกึ่งเมือง พื้นที่การทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 117.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 73,311 ไร่   ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลแม่เมาะ ประมาณ  70 % เป็นภูเขา และ 30 % เป็นพื้นที่ราบ  และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400  เมตร