การยุติ ❌การใช้ถ่านหินในจังหวัดลำปางภายในปี พ.ศ.2593 ทั้งการทำเหมืองและการผลิตไฟฟ้า – เป็นกุญแจสำคัญสู่เป้าหมายของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ.2593 และการปลอยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิที่เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2608 กับการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านอนาคตอันใกล้นี้อย่างไร ❓
⭕️สำหรับข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ในเวทีเสวนาซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิด พูดถึงแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ▪️ ถ่านหิน ▪️ โอกาส “เศรษฐกิจลำปางที่ยังไปไม่ถึง” ในการพัฒนาแผนอย่างครอบคลุมหรือขยายแผนการปิดเหมืองแม่เมาะ สำหรับการปิดเหมืองถ่านหิน EGAT แม่เมาะ เพื่อการฟื้นฟูเชิงนิเวศผ่านการฟื้นฟูที่ดิน การปลูกป่า และการฟื้นฟูระบบนิเวศ ทั้งนี้ ควรให้มีความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐเพื่อให้การดำเนินการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงสภาพแวดล้อม (สภาพธรรมชาติ กรอบการกำกับดูแล การออกแบบตลาดพลังงาน) สำหรับกระบวนการ JET ในระดับชาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการก้าวหน้าในจังหวัดลำปาง เช่น ขยายการใช้ประโยชน์จากศักยภาพอันมหาศาลของจังหวัดลำปางในการผลิตไฟฟ้าจากเชลล์แสงอาทิตย์และชีวมวลในฐานะแหล่งพลังงานหมุนเวียนในอนาคต
⭕️ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎรฯ ร่วมกับโครงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรมในภูมิภาคถ่านหินองค์กรระหว่างประเทศแห่งเยอรมัน ณ หอประชุมอำเภอแม่เมาะ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 1 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา